วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

เขาคิชกูฏกับเหล่าผู้แสวงบุญแห่งพุทธะ..


       เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมาถือโอกาสลางานอันแสนจะน่าเบื่อ ด้วยตั้งใจจะเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งเขาคิชกูฏและเดินทางแสวงบุญดังพุทธศาสนิกชนคนอื่นๆที่ไปกันมาแล้ว ปีนี้เขาคิชกูฏเปิดให้ขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. ไปจนถึง 4 เม.ย.  ซึ่งอีกไม่กี่วันก็คงจะปิดให้ขึ้นแล้วสำหรับปีนี้         
      เมื่อ2ปีที่แล้วเคยไปมาครั้งนึง แต่ไปตรงกับช่วงวันหยุด คนแน่นมากครับ นับหลายหมื่นได้ แทบไม่มีที่จะยืน รอขึ้นเขาตั้งแต่3ทุ่ม ได้ขึ้นทีตอนตี3  ถ้าใครไม่มีจิตศรัทธาจริงๆขอแนะนำว่าอย่าไปในช่วงวันหยุดเลยนะครับ..
    

             ควันธูปลอยคละคลุ้งส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วบริเวณศาลา..แถบสีแดงที่ปลายธูปแข่งกันเผาผลาญก้านตัวเองให้สั้นลงทุกขณะ   ก้านแล้วก้านเล่าที่ถูกปักลงบนกระถาง ก่อนที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลจะรวบเก็บออกไป เพื่อเปิดทางให้ธูปก้านต่อไปได้มีพื้นที่ลงบนกระถาง..
             เฉกเช่นชีวิตคนเรา วันเวลาที่ล่วงผ่านค่อยๆกัดกินสังขารกายให้เสื่อมถอยลงทุกขณะ เหมือนก้านธูปที่เผาไหม้ตัวเอง..ท้ายที่สุดก็ทิ้งใว้เพียงกลิ่นควันซึ่งเปรียบเหมือนความดีงามของคนเรา ก่อนจะจางหายไป..ในที่สุด

                                                                                                                                   
          หมึกสีดำถูกขีดเขียน ทาบทาลงบนแผ่นผ้าสีเหลืองที่ห่อคลุมหินก้อนใหญ่เอาใว้  ปลายปากกาถูกตวัดขึ้นลงบนผืนผ้าจนแทบไม่เหลือพื้นที่ว่าง..  ตัวอักษรถูกรวมเข้าเป็นข้อความมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นคำวิงวอนร้องขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อตัวเองและครอบครัวอันเป็นที่รัก..
          บางครั้งคนเราก็หลงลืมไปว่าการที่เราจะได้มาซึ่งอะไรบางอย่างนั้น หาใช่เกิดจากการอ้อนวอนขอแต่อย่างใด..ศาสนาพทุธ สอนหลักเหตุและผลใว้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่ผู้คนที่เรียกตัวเองว่าพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ๋กลับหันไปเชื่อเรื่องโชคลาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มากกว่าพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..

  
                                                   
          ดอกไม้และธูปเทียน ถือเป็นเครื่องสัการะบูชาที่ขาดแทบไม่ได้ในพิธีกรรมต่าง แต่เหนือสิ่งอื่นใด จิตที่ตั้งมั่น จิตที่แน่วแน่มั่นคงนั้นสำคัญยิ่งกว่าเครื่องบูชาใดๆ เพราะว่า "จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน" นั่นเอง  ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิต
    

        
      ...ยังไม่จบ เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ.. ดูรูปกันไปก่อน



     

  





  












 













 







 
 
 
 

 
 
                   






   
    

       ยังเขียนไม่จบนะครับ เดี๋ยวมาต่อ ..ให้ชมรูปกันไปก่อน


______________________________________________________________________

ข้อมูลเพิ่มเติม  

ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชกูฏ (พลวง)  (ที่มา: http://www.mapculture.org )



       นายติ่งและคณะได้ขึ้นบนเขาเพื่อไปหาไม้กฤษณามาขาย  ได้ไปพักเหนื่อยบนลานหินกว้าง  เพื่อนของนายติ่งคนหนึ่ง ได้ถอนหญ้าเพื่อนอนพักก็พบแหวนใหญ่ขนาดสวมหัวแม่เท้าได้  เเละเมื่อช่วยกันตรวจดูก็พบหินแผ่นหนึ่ง  มีพื้นที่เป็นรอยรูปก้นหอย  ต่อมานายติ่งและเพื่อนได้นำบุตรชายไปอุปสมบทที่วัดพลับ  รุ่งขึ้นก็มีงานปิดรอยพระพุทธบาทจำลอง  นายติ่งซื้อทองไปปิดแล้วจึงพูดว่าแถวบ้านตนก็มีรอยแบบนี้เช่นเดียวกัน  พอดีมีพระได้ยินเข้าจึงไปเรียนให้เจ้าอาวาสวัดรับทราบ  จึงเรียกนายติ่งเข้าไปสอบถามและส่งคณะขึ้นไปพิสูจน์ดู  ก็เป็นความจริงและตรวจดูรอบๆบริเวณนั้น  ก็พบสิ่งประหลาดมหัศจรรย์หลายอย่าง รอยพระพุทธบาทนั้นท่านทรงเหยียบจารึกไว้ที่ศิลาแผ่นใหญ่  บรรจุคนนั่งได้ร้อยกว่าคน บนยอดเขาสูงสุด กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร  ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรอยพระพุทธบาทมีหินกลมก้อนหนึ่งใหญ่มาก เรียกว่าหินลูกพระบาท  ตั้งขึ้นมาอย่างน่าแปลกประหลาดมหัศจรรย์  มองดูคล้ายลอยอยู่เฉยๆ  มีคนกล่าวว่าเขาเคยเอาด้ายสายสิญจน์คล้องแล้วหลุดออกมาได้  และยังมีหินอีกลูกอยู่ตรงข้ามกับหินลูกพระบาทนี้ ก็มีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้จากรอยพระพุทธบาทกับรอยพระหัตถ์นั้น ห่างกันประมาณ 5 เมตร และยิ่งแปลกไปกว่านั้น  ในก้อนหินนั้นตรงกันข้ามกับรอยพระหัตถ์  ยังมีรูปรอยเท้าใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่ารอยเท้าพญามาร  เพียงแหงนหน้าขึ้นไปจะมองเห็นได้ทันที สูงประมาณ 15 เมตร  ต่อจากนั้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากหินลูกนี้ไปเพียง 15 วา มีหินลูกข้างบนเป็นลานและมองเห็นรอยรถหรือรอยเกวียน  เมื่อยืนบนหินลูกนั้นมองลงไปทางทิศเหนือจะเห็นถ้ำเต่า   หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรอยพระพุทธบาทจะเห็นถ้ำช้าง และถ้ามองจากรอยพระพุทธบาทขึ้นไปจะเห็นหินก้อนหนึ่งมีรูปลักษณะคล้ายช้าง จริง   เลยจากช้างไปสูงสุดนั้นเรียกกันว่าห้างฝรั่ง  เพราะฝรั่งได้ขึ้นไปตั้งห้างส่องกล้องเพื่อทำแผนที่  มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีถ้ำอีกถ้ำหนึ่งเรียกว่าถ้ำสำเภา เพราะมีหินก้อนหนึ่งข้างบนถ้ำมีลักษณะคล้ายๆเรือสำเภา  และยังมีอีกถ้ำหนึ่งใต้พระบาทนี้เรียกว่าถ้ำตาฤาษี
      ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์  แปลว่าภูเขาแร้งกระพือปีก  มีคันธกุฎีอยู่บนยอดเขา  และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต  เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาท พลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย  จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544:97-99)


   *****************************************************************